fbpx

เก็บเงินเดือนละ 80,000 บาท ส่งลูกเรียนอินเตอร์

เก็บเงินเดือนละ 80,000

ยังไหวกันไหมคะแม่ๆ? อ่านบทความซีรีส์ “วางแผนการเงิน ส่งลูกเรียนอินเตอร์” กันไป 3 บทความแล้ว วันนี้ “ลงทุนมัม” จัดให้ต่อค่ะ ว่าถ้าบ้านไหนยังสามารถที่จะออมเงินได้เยอะขึ้นเป็น เดือนละ 80,000 บาท หละ เงินทุนที่เราออมไว้จะมีโรงเรียนไหนที่จะเข้าข่ายกันบ้าง เราลองไปดูกันค่ะ  

“ลงทุนมัม” ลองคำนวณคร่าวๆดูว่า ถ้าเราออมเงิน เดือนละ 80,000 บาท ตั้งแต่ลูกเราเกิด โดยคิดอัตราผลตอบแทนเงินลงทุน1.7% โดยอ้างอิงจาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาล 3 ปี ของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อครบปีสุดท้ายของการเรียน เราจะเก็บเงินได้ทั้งหมด 16,543,850 บาท 

เก็บเงินเดือนละ 80,000 บาท

เงินออมส่วนนี้จะเพียงพอต่อค่าเล่าเรียนของลูกๆเรา สำหรับโรงเรียนต่อไปนี้ค่ะ

  1. King’s College International School Bangkok
  2. Harrow International School Bangkok
รายชื่อโรงเรียนที่ส่งลูกเรียน เมื่อเราเก็บเงินเดือนละ 80,000 บาท

และรวมจากโพสที่ก่อนๆ โรงเรียนที่อยู่ใน Budget หากเราออมเงิน เดือนละ 75,000 บาท

  1. Denla British School Bangkok
  2. Concordian International School
  3. NIST
  4. BASIS International School Bangkok
  5. Shrewsbury International School
  6. Wellington College International School Bangkok

โรงเรียนที่อยู่ใน Budget หากเราออมเงิน เดือนละ 65,000 บาท

  1. Ruamrudee International School (RIS)
  2. Bangkok Patana School (BPS)
  3. Regent’s International School Bangkok
  4. St. Andrews International School

โรงเรียนที่อยู่ใน Budget หากเราออมเงิน เดือนละ 55,000 บาท 

  1. Bangkok Prep
  2. Anglo Singapore International School
  3. SISB

.

อันนี้ที่ ”ลงทุนมัม” คำนวณนี้จะอ้างอิงจาก ค่าเทอมโรงเรียนแต่ละโรงเรียนที่ “ลงทุนมัม” เคยคำนวณให้แม่ๆดูกันไปแล้วนะคะ ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ครบทุกโรงเรียนในประเทศไทย แต่เอาเฉพาะโรงเรียนหลักๆที่อยู่ในความสนใจค่ะ (บางโรงเรียนยังไม่มี อย่าพึ่งน้อยใจไปนะคะ จะพยายามทะยอยทำเรื่อยๆค่ะ ถ้าแม่ๆ มีโรงเรียนไหนสนใจ แล้ว “ลงทุนมัม” ยังไม่เคยเขียน คอมเมนท์แนะนำ “ลงทุนมัม” มากันได้ค่ะ) 

ค่าเทอมของโรงเรียนนานาชาติจะมีการปรับขึ้นทุกปี ซึ่งในที่นี้ “ลงทุนมัม” คิดเฉลี่ยการปรับขึ้นค่าเทอมปีละ 3% แล้ว (โรงเรียนนานาชาติปกติค่าเทอมจะมีการปรับขึ้นประมาณ 3%-5% ทุกปีอยู่แล้วค่ะ) แต่ยังไม่ได้รวมอัตราเงินเฟ้อนะคะ  

จริงๆแล้วค่าใช้จ่ายของลูก ยังมีอีกมากมายจิปาถะ เช่น ค่าชุดนักเรียน, ค่ากิจกรรมพิเศษต่างๆ อันนี้ก็แล้วแต่เฉพาะครอบครัวไปค่ะ “ลงทุนมัม” เลยไม่ขอเอามารวมนะคะ แต่ค่าใช้จ่ายหลักๆซึ่งก็คือค่าเทอม น่าจะพอทำให้แม่ๆเห็นภาพแล้วหละค่ะว่า เราจะต้องบริหารจัดการการเงินของเรายังไง 

.

อย่างไรก็ตาม แม่ๆ หรือ ผู้ปกครองที่อ่านแล้ว ก็อย่าพึ่งเครียด หรือ ท้อ กันไปก่อนนะคะ เพราะถ้าเราเริ่มเก็บเงินล่วงหน้านานกว่านี้ หรือ แม่ๆสามารถที่จะลงทุนโดยได้ผลตอบแทนมากกว่า อัตราพันธบัตรรัฐบาล 3 ปี เราก็อาจจะไม่จำเป็นต้องออมเงินต่อเดือนมากขนาดนี้ก็ได้ค่ะ 

.

“การลงทุนทางด้านการศึกษาสำหรับลูกย่อมคุ้มค่าเสมอ” ต่อให้จ่ายแพงแค่ไหนก็ไม่มีคำว่าขาดทุนแน่นอนค่ะ เพียงแค่เราต้องรู้จักวางแผนการใช้เงินของเราให้ดีและรอบคอบนะคะ 🙂

.

แนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง:

.

ช่วยกันกดไลค์หรือคอมเมนต์เป็นกำลังใจให้ ”ลงทุนมัม”กันด้วยนะคะ และอย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดข้อมูลดีๆจาก “ลงทุนมัม” ค่ะ

.

++ ชอบอ่านบทความดีๆ มีสาระพร้อมความบันเทิง กดติดตามได้ที่ ++

FB: http://www.facebook.com/longtunmom/

Page: https://www.longtunmom.com

#ลงทุนมัม #longtunmom #โรงเรียนนานาชาติ #InternationalSchool #โรงเรียนอินเตอร์ #ค่าเทอมลูก #ค่าเล่าเรียน #วางแผนการเงิน #ลงทุน #savings80K